kruitim
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554
อ่านซักนิด
จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน และโรงทาน
(อ.ป๋วย) ในระหว่าง 2-3 ขวบแรก ชึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโต ในระยะที่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผม กับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์
(สภาพัฒน์) มีอาหารเพียงพอ เพราะเด็กไทยยังเป็นโรคขาดอาหารอีกถึง 1 ล้านคน
(อ.ป๋วย) ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาว หรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรม แห่งชีวิตถ้าผมมีสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะรวยหรือจน จะอยู่ในเมือง หรือชนบท แร้นแค้น
(สภาพัฒน์) การศึกษา ที่ไม่ใช่แค่การศึกษาพื้นฐาน 12 ปี แต่ต้องรวมถึงการศึกษานอกโรงเรียน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
(อ.ป๋วย) บ้านเมืองที่ผมอาศัยอยู่ จะต้องมีขื่อมีแป ไม่มีการข่มขู่ กดขี่หรือประทุษร้ายกัน
(สภาพัฒน์) มีหลักประกันในชีวิตและทรัพย์สิน ความปลอดภัยต่อยาเสพติด
(อ.ป๋วย) ในฐานะที่ผมเป็นชาวนา ชาวไร่ ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควร สำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้เงินมา ขยายงาน มีโอกาสรู้วิธีทำกินแบบใหม่ๆ มีตลาดดี และขายสินค้าได้ราคายุติธรรม
(สภาพัฒน์) ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงแหล่งทุนและกองทุนต่างๆ (ข้อนี้ต้องถือว่า อาจารย์ป๋วยเสนอมากกว่า)
(อ.ป๋วย) ในฐานะที่ ผมเป็นมนุษย์ ผมก็ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ และหนังสืออื่นๆ ที่ไม่แพงนัก จะฟังวิทยุดูโทรทัศน์ก็ได้ โดยไม่ต้องทนรบกวนจากโฆษณามากนัก
(สภาพัฒน์) ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำรงชีวิตหรืออาชีพของตน เช่น เกษตรกรสามารถรู้ราคาข้าว ประชาชนมีโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต
(อ.ป๋วย) ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมอย่างฟรี กับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใด หาหมอหาพยาบาลได้สะดวก
(สภาพัฒน์) ทุกคนได้รับระบบประกันสุขภาพที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน
(อ.ป๋วย) ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ น้ำบริสุทธิ์สำหรับดื่ม
(สภาพัฒน์) ทุกคนมีน้ำดื่มไม่น้อยกว่า 5 ลิตรต่อวัน และน้ำใช้ไม่น้อยกว่า 45 ลิตรต่อวัน ,มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนภายใน 6 ปี
(อ.ป๋วย) เมื่อแก่ผมและเมียก็ควรได้ประโยชน์ตอบแทนจาก การประกันสังคม ซึ่งผมได้จ่ายบำรุงตลอดมา
(สภาพัฒน์) ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ทุพพลภาพ ได้รับหลักประกันอย่างเท่าเทียมกัน
(อ.ป๋วย) นี่แหละคือความหมายแห่งชีวิต นี่แหละคือการพัฒนาที่ควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน
(เลขาสภาพัฒน์) แต่เดิมเราคิดว่า ความยากจนวัดที่รายได้ต่อหัวเป็นหลัก ทั้งที่จริงๆ แล้ว ถ้าเขามีหลักประกันจากรัฐบาลตรงนี้ ก็ถือว่าไม่เดือดร้อน
ข้อเสนอของสภาพัฒน์ ที่ไม่ปรากฏในข้อเรียกร้องของอาจารย์ป๋วยคือ คนไร้ที่อยู่อาศัยหรือโฮมเลส ต้องมีที่พักพิง คนไม่มีที่อยู่ สามารถไปนอนในที่ที่รัฐจัดให้ ขณะที่สมัยก่อนประเทศไทย เคยมี "โรงทาน" แบ่งปันอาหารและที่อาศัย
( ผมขอสนับสนุนสภาพัฒน์ในข้อนี้ อย่างน้อยที่สุดเรามีเด็กนับล้านคนทั้งในชนบท และเมืองหลวง ที่ต้องเอาน้ำลูบท้องทั้งวันเพราะไม่มีอาหารตกถึงท้อง ไม่มีที่ซุกหัวนอนเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพและอนาคตของพวกเขา)
(สภาพัฒน์) มีอาหารเพียงพอ เพราะเด็กไทยยังเป็นโรคขาดอาหารอีกถึง 1 ล้านคน
(อ.ป๋วย) ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาว หรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรม แห่งชีวิตถ้าผมมีสติปัญญาเรียนชั้นสูงๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะรวยหรือจน จะอยู่ในเมือง หรือชนบท แร้นแค้น
(สภาพัฒน์) การศึกษา ที่ไม่ใช่แค่การศึกษาพื้นฐาน 12 ปี แต่ต้องรวมถึงการศึกษานอกโรงเรียน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
(อ.ป๋วย) บ้านเมืองที่ผมอาศัยอยู่ จะต้องมีขื่อมีแป ไม่มีการข่มขู่ กดขี่หรือประทุษร้ายกัน
(สภาพัฒน์) มีหลักประกันในชีวิตและทรัพย์สิน ความปลอดภัยต่อยาเสพติด
(อ.ป๋วย) ในฐานะที่ผมเป็นชาวนา ชาวไร่ ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควร สำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้เงินมา ขยายงาน มีโอกาสรู้วิธีทำกินแบบใหม่ๆ มีตลาดดี และขายสินค้าได้ราคายุติธรรม
(สภาพัฒน์) ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงแหล่งทุนและกองทุนต่างๆ (ข้อนี้ต้องถือว่า อาจารย์ป๋วยเสนอมากกว่า)
(อ.ป๋วย) ในฐานะที่ ผมเป็นมนุษย์ ผมก็ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ และหนังสืออื่นๆ ที่ไม่แพงนัก จะฟังวิทยุดูโทรทัศน์ก็ได้ โดยไม่ต้องทนรบกวนจากโฆษณามากนัก
(สภาพัฒน์) ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำรงชีวิตหรืออาชีพของตน เช่น เกษตรกรสามารถรู้ราคาข้าว ประชาชนมีโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต
(อ.ป๋วย) ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมอย่างฟรี กับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใด หาหมอหาพยาบาลได้สะดวก
(สภาพัฒน์) ทุกคนได้รับระบบประกันสุขภาพที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน
(อ.ป๋วย) ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ น้ำบริสุทธิ์สำหรับดื่ม
(สภาพัฒน์) ทุกคนมีน้ำดื่มไม่น้อยกว่า 5 ลิตรต่อวัน และน้ำใช้ไม่น้อยกว่า 45 ลิตรต่อวัน ,มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนภายใน 6 ปี
(อ.ป๋วย) เมื่อแก่ผมและเมียก็ควรได้ประโยชน์ตอบแทนจาก การประกันสังคม ซึ่งผมได้จ่ายบำรุงตลอดมา
(สภาพัฒน์) ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ทุพพลภาพ ได้รับหลักประกันอย่างเท่าเทียมกัน
(อ.ป๋วย) นี่แหละคือความหมายแห่งชีวิต นี่แหละคือการพัฒนาที่ควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน
(เลขาสภาพัฒน์) แต่เดิมเราคิดว่า ความยากจนวัดที่รายได้ต่อหัวเป็นหลัก ทั้งที่จริงๆ แล้ว ถ้าเขามีหลักประกันจากรัฐบาลตรงนี้ ก็ถือว่าไม่เดือดร้อน
ข้อเสนอของสภาพัฒน์ ที่ไม่ปรากฏในข้อเรียกร้องของอาจารย์ป๋วยคือ คนไร้ที่อยู่อาศัยหรือโฮมเลส ต้องมีที่พักพิง คนไม่มีที่อยู่ สามารถไปนอนในที่ที่รัฐจัดให้ ขณะที่สมัยก่อนประเทศไทย เคยมี "โรงทาน" แบ่งปันอาหารและที่อาศัย
( ผมขอสนับสนุนสภาพัฒน์ในข้อนี้ อย่างน้อยที่สุดเรามีเด็กนับล้านคนทั้งในชนบท และเมืองหลวง ที่ต้องเอาน้ำลูบท้องทั้งวันเพราะไม่มีอาหารตกถึงท้อง ไม่มีที่ซุกหัวนอนเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพและอนาคตของพวกเขา)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)